“รถคอกเพลาลอย รถคอกซิ่ง”
รถกระบะถือเป็นรถที่ครองใจชาวไทยและมีจำนวนผู้ใช้มากมายไม่น้อยกว่ารถยนต์นั่งส่วนบุคคลประเภทอื่นๆ ทั้งใช้งานทั่วไป ใช้งานแบบครอบครัว รวมไปถึงการใช้รถกระบะในเชิงพาณิชย์ หรือ กระบะรับจ้าง และในปัจจุบันการซื้อรถกระบะก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น รถกระบะใหม่ป้ายแดง หรือ รถกระบะมือสอง

ซึ่งหลายท่านก็นิยมนำรถกระบะคันโปรดไปดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อความสวยงาม และเพิ่มสมรรถนะในการขับขี่ รวมไปถึงเพื่อบรรทุกของหรือขนส่งสินค้าในการดำเนินธุรกิจต่างๆ โดยเฉพาะตามต่างจังหวัดเรามักจะพบเห็น รถกระบะตอนเดียวใส่คอก หรือ ใส่ตู้ทึบ ถูกใช้บรรทุก ผัก ผลไม้ และสินค้าด้านการเกษตรเป็นจำนวนมาก
ดังนั้นสำหรับรถกระบะ “สายพันธุ์รถคอก” การบรรทุกหนักถือเป็นปัจจัยหลักในการใช้งาน ซึ่งประสิทธิภาพในเรื่องการบรรทุกหรือสมรรถนะในการบรรทุกของรถกระบะเดิม ๆ จากโรงงาน อย่างมากก็บรรทุกได้ไม่เกิน 1 – 2 ตัน นั่นก็ถือว่า “สูงสุด” ที่ทำได้แล้และที่สำคัญคือ ไม่ใช่ว่าจะทำได้บ่อย ๆ เพราะยิ่งบรรทุกหนักเป็นประจำ ไม่นานเพลาเดิมที่ติดกับรถก็จะมีปัญหาตามมาอีกด้วย
4 ผลเสีย ที่เพลาท้ายรถกระบะของคุณต้องเจอหากบรรทุกหนักเกินไป
เริ่มด้วยที่ลูกปืนแตกบ่อย
อาการแรกเริ่มเลย เมื่อบรรทุกเกินความสามารถของตัวรถ ทำให้มีผลต่อเพลาท้ายรถกระบะ ของคุณคืออาการ “ลูกปืนแตกบ่อย” เพราะต้องอย่าลืมว่า ด้วยประสิทธิภาพของลูกปืนล้อที่มากับรถจากโรงงานนั้น เขาผลิตมาเพียงเพื่อโดยสารและบรรทุกของได้อย่างมากก็แค่ 1-2 ตันตามที่กล่าวไปข้างต้นเท่านั้น ซึ่งถ้าคุณใช้รถบรรทุกหนัก ๆ ที 4-5 ตัน ยังไงก็ยากที่ลูกปืนล้อจะรับน้ำหนักไหว ลูกปืนล้อแตกบ่อยจนทำให้คุณปวดหัวได้เลย
เพลาท้ายแอ่น เพลาขับล้อหลังกระบะคดงอ
ขึ้นมาอีกระดับกับผลเสียของรถกระบะเดิม ๆ แต่ต้องรับน้ำหนักเกินตัว นั่นก็คืออาการ “เพลาท้ายแอ่น” คดงอ ด้วยความที่เนื้อเหล็ก ขนาด จนถึงส่วนประกอบของเพลาท้ายนั้นไม่ได้ทำออกมาเพื่อรับน้ำหนักได้มากเกินไป แต่ใครที่ใช้รถกระบะคอกขนของหนัก ๆ ก็เป็นที่รู้กันดีว่า ขนได้ยิ่งเยอะเท่าไร กำไรก็ยิ่งมากขึ้นตาม จนอาจลืมไปว่ารถของคุณอาจรับไม่ไหว และอาการของเพลาท้ายแอ่น เสื้อเพลาแอ่นจะทำให้รถกินยาง การทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ จนท้ายที่สุด “พัง” รถวิ่งไม่ได้ อุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในระบบเสียหาย เช่น เพลาขับหรือชุดเฟืองท้าย
เสื้อเพลาแตก
อาการหนักยิ่งขึ้นที่เพลาท้ายไม่ได้แค่แอ่นแล้วตอนนี้ แต่หนักจน “เสื้อเพลาท้ายแตกร้าว” น้ำมันเฟืองท้ายรั่วขณะขับขี่ เมื่อระบบไม่มีน้ำมันช่วยหล่อลื่นชุดเฟืองท้ายทั้งชุดน้ำมันแห้ง สุดท้ายเฟืองท้ายก็พัง ต้องเปลี่ยนทั้งชุด ซึ่งค่าใช้จ่ายในการซ่อมเปลี่ยนชิ้นส่วนก็อาจจะไม่คุ้มกับกำไรที่ได้มาจากการบรรทุกหนัก ๆ เลยด้วยซ้ำ
อุบัติเหตุ
ผลเสียที่ร้ายแรงที่สุดและไม่มีใครอยากจะเจอนั่นก็คือเรื่องอุบัติเหตุ ที่จะตามมาเมื่อรถของคุณบรรทุกหนักเกินไป ทั้งการขับขี่ ความสามารถในการทรงตัวจะน้อยลง เมื่อรถต้องรับน้ำหนักมากขึ้น และนั่นจะแปรผันกับเรื่องความปลอดภัยในการขับขี่ โอกาสที่รถจะเกิดอุบัติเหตุยิ่งสูงขึ้นอย่างคาดไม่ถึง
ปัญหาในการบรรทุก “เพลาลอย” ช่วยได้จากปัญหานำไปสู่ “ทางออก”
เปรียบเทียบระหว่าง เพลาลอยใหม่ กับ เพลาเดิม(เพลาจม) ที่ติดรถมา
สำหรับใครที่ยังลังเลเรื่องของการเปลี่ยน เพลาลอยใหม่ ให้กับรถที่ใช้ทำมาหากินของคุณ ว่าควรจะเปลี่ยนดีไหม ? จะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปหรือเปล่า ? หรือจะเลือกใช้งานบรรทุกไปแบบ “เดิม ๆ” ด้วย เพลาเดิม หรือ เพลาจม ที่ติดมากับรถก็พอแล้ว แบบไหนจะดีกว่ากัน ?
วันนี้ทางทีมงานเสรีไทยรถสวยจะพาทุกคน โดยเฉพาะใครที่เป็นสาวกรถคอก สิงห์รถคอก “ต้องห้ามพลาด” กับการเปรียบเทียบระหว่างเพลาทั้งสองประเภท
“เพลาลอย” และ “เพลาจม”
ถึงความต่างและสิ่งที่คุณจะได้ “มากกว่า” ถ้าเลือกเปลี่ยนมาใช้ เพลาลอย
1. บรรทุกได้มากกว่า

จุดเด่นแรกและสำคัญที่สุดของ เพลาลอยใหม่ ที่เหนือกว่า เพลาเดิม ติดรถนั่นก็คือเรื่องของความแข็งแรงที่มีมากกว่า รับน้ำหนักได้มากกว่าเป็นเท่าตัว รู้กันดีในสายกระบะคอก กระบะเน้นบรรทุกว่าเมื่อรถถ้าบรรทุกได้หนักเท่าไร กำไรก็ยิ่งมากขึ้นเท่านั้น เทียบกับเพลาเดิมติดรถซึ่งบรรทุกได้สูงสุดก็แค่ 1-2 ตัน กับเพลาลอยที่รับน้ำหนักได้อยู่ที่ 4-5 ตัน ความต่างมันชัดเจนอยู่แล้ว มองง่าย ๆ รถที่ใช้เพลาเดิมต้องบรรทุกถึง “สองเที่ยว” กว่าจะบรรทุกได้เท่ารถที่ใช้เพลาลอย
2. ความทนทาน มีมากกว่า
กระบะเพลาเดิมติดรถ ถ้าบรรทุกหนักวิ่งใช้งานบ่อย ๆ บอกเลยว่า “ซ่อมบาน” แน่นอน ไม่ว่าจะเป็นส่วนของลูกปืนล้อที่เสียบ่อยที่สุด หรืออาการเสื้อเพลาแตก เฟืองท้ายเสีย และอาการพังอื่น ๆ ที่จะตามมาทั้งซ่อมเบาซ่อมหนักอีกมากมาย ความทนทานเทียบไม่ได้เลยกับเพลาลอยใหม่ที่ประสิทธิภาพสูงกว่าชัดเจน ผลิตออกมาเทียบเท่ากับของรถบรรทุก ซึ่งแน่นอนว่าเรื่องความทนทานยังไงเพลาเดิมติดรถก็สู้เพลาลอยใหม่ไม่ได้ด้วยประการทั้งปวง
3. ค่าซ่อมบำรุงประหยัดกว่า
เมื่อทนกว่าเรื่องการซ่อมก็จะน้อยลง ค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ก็จะมีถูกกว่าโดยปริยาย ไม่เพียงเท่านั้นเพลาเดิมติดรถกระบะรุ่นใหม่ ๆ ถ้าพังที่ชิ้นส่วนไหนขึ้นมาก็ใช่ว่าอะไหล่จะถูก แต่สำหรับเพลาลอยที่สามารถใช้อะไหล่ร่วมได้กับเพลาแอ้วทุกชิ้น อะไหล่ราคามาตรฐาน ไม่สูงเกินไปแถมยังมีทางเลือกในส่วนของอะไหล่มือสองใช้ทดแทนได้ด้วย ดีกว่าในทุกมิติ
4. ความปลอดภัยที่มากกว่า
ทุกคนต่างรู้ว่ารถเมื่อบรรทุกหนักขึ้นประสิทธิภาพในการขับขี่ควบคุมก็จะลดลง นำมาซึ่งเรื่องของความปลอดภัยในการขับขี่ ทั้งเรื่องการควบคุม การเบรก จะเปลี่ยนไปจากเดิมอย่างสิ้นเชิง แต่สำหรับ ชุดเพลาลอย แม้จะบรรทุกหนักแค่ไหนก็วางใจได้ในเรื่องความปลอดภัย ทั้งระบบเบรกที่ดีขึ้นกว่าชุดเบรกติดรถ และความสามารถในการทรงตัวจากระยะฐานล้อที่กว้างขึ้น
ส่วนประกอบและข้อดีของเพลาลอย "ที่เพลาจมเดิม ๆ ติดรถให้คุณไม่ได้"

1. เพลาลอย เสื้อเพลาจะใหญ่กว่า
ทำหน้าที่ : ส่วนสำคัญสุดในการรับน้ำหนักจากตัวรถและน้ำหนักของสินค้าโดยตรง
เสื้อเพลาลอย คือ ชิ้นส่วนนี้เป็นชิ้นส่วนหลักสำคัญในการทำงาน ตัว “เสื้อเพลา” ที่คุณจะสังเกตได้ทันทีถึงความแตกต่างในเรื่องของขนาดที่ใหญ่กว่าอย่างเห็นได้ชัด นำมาซึ่งความแข็งแรงแข็งแกร่งที่มากกว่า เมื่อขึ้นชื่อว่ารถกระบะสายบรรทุก “รถคอก” ก็จะก้าวขั้นกว่าแค่การบรรทุกธรรมดา เรื่องความแข็งแรงของส่วนต่าง ๆ ในการช่วยรับน้ำหนักจึงเข้ามามีส่วนสำคัญอย่างปฎิเสธไม่ได้
2. ลูกปืนล้อไม่แตกง่าย จัดเต็มให้ฝั่งละ 2 ตลับ
ทำหน้าที่ : รับน้ำหนักจาก Chassis และส่งผ่านกำลังแรงบิทจากเพลาข้างไปยังล้อรถ
รถที่ใช้เพลาเดิมพอบรรทุกหนัก ๆ หนึ่งปัญหาที่รถหลายคันมักเจอนั่นก็คือ ลูกปืนล้อแตกบ่อย แต่กับชุดเพลาลอยจะไม่เจอปัญหานั้นอีกต่อไป ด้วยความแข็งแกร่งที่ได้มาจากลูกปืนล้อที่มากกว่า เพิ่มมาเป็น 2 ตลับต่อฝั่งระบบการทำงานเช่นแบบเดียวรถบรรทุก 4 ล้อเล็ก แกร่งกว่า ทนกว่า บรรทุกเต็มคอกหรือล้นคอกยังไงก็หมดกังวลจากปัญหาลูกปืนล้อแตกอีกต่อไป
3. เฟืองท้าย
ทำหน้าที่ : ส่งผ่านแรงบิดจากเกียร์ไปยังเพลาข้าง
การเลือกรอบเฟืองท้าย ขึ้นอยู่กับรอบเครื่องยนต์และรอบเกียร์ที่ใช้อยู่ เพื่อให้ได้สมรรถนะโดยรวมของรถกระบะบรรทุกสูงสุด
4. เพลาข้างที่มากับชุดเพลาลอยใหญ่กว่า
ทำหน้าที่ : ส่งผ่านแรงบิดจากเฟืองท้ายไปยังดุมล้อ เพลาข้างที่ดีต้องทนแรงบิดได้สูง
จากเสื้อเพลาที่ใหญ่กว่าเดิมจะทำงานร่วมกับเพลาข้างที่ใหญ่ขึ้นด้วย แม้ชุดเพลาลอยใหม่นี้จะสามารถใช้ได้กับชุดเฟืองท้ายเดิมที่มากับรถเพื่อประสิทธิภาพ ทำให้การขับขี่มีอัตราเร่งที่ดีเหมือนเดิม ไม่มีตก ไม่กินน้ำมันเพิ่มขึ้น ที่สำคัญชุดเฟืองท้ายเดิมยังสามารถใช้ร่วมกับเพลาข้างที่มากับชุดเพลาลอยได้เลย “ไม่ต้องมีการดัดแปลงใด ๆ ทั้งสิ้น” แกร่งทั้งภายนอกจากเสื้อเพลา และแกร่งจากภายในด้วยเพลาข้างที่ใหญ่ขึ้นจะบรรทุกหนักแค่ไหนรถของคุณก็พร้อมเผชิญ กระบะเดิมโรงงานจากเจ้าไหนที่นิยามรถตัวเองว่าเป็นกระบะแกร่ง เจอเพลาข้างที่มากับเพลาลอยเข้าไปยังไงก็ต้องหลบ รับประกันได้เลย!!
5. ระบบเบรกมั่นใจได้มากกว่า (จานเบรก และ แผงเบรก)
จานเบรกทำหน้าที่ : ลดความเร็ว ด้วยวัสดุเนื้อเหล็กอย่างดี เพื่อให้มั่นใจว่าหยุดกะทันหันได้ทันที
แผงเบรกทำหน้าที่ : ลดความเร็ว ของจานเบรก ด้วยแม่ปั๊มแผงเบรก ข้างละ 2 ตัว ช่วยให้มั่นใจเมื่อบรรทุกสินค้าน้ำหนักมาก
แม้ว่ากระบะของคุณจะเป็นรุ่นท็อปที่มากับระบบห้ามล้อเบรกแบบขั้นเทพแค่ไหน แต่เมื่อต้องเจอกับการใช้งานที่บรรทุกหนัก ๆ เกินตัว 4-5 ตันที ก็ต้องยอมว่าประสิทธิภาพในการเบรกย่อมลดลง แต่กับระบบเบรกที่มากับชุดเพลาลอยจะสามารถมอบความมั่นใจให้กับคุณได้มากกว่า จากปั๊มเบรกขนาดใหญ่ถึงฝั่งละ 2 ปั๊ม (เดิมติดรถให้มาแค่ฝั่ง 1 ปั๊ม) พร้อมกับผ้าเบรกขนาดที่หน้าสัมผัสใหญ่กว่าเดิม ให้คุณมั่นใจได้ในทุกครั้งที่แตะเบรก แม้ตอนที่บรรทุกหนัก ๆ ก็ปลอดภัยได้มากกว่า
6. หัวดุม และ น็อตล้อที่ใหญ่ขึ้น
ได้ถูกสร้างมาเพื่อบรรทุกหนักโดยเฉพาะ รับแรงได้เยอะ และ ได้จำนวนน็อตล้อถึง 6 ตัวใหญ่ต่อล้อ


เพียงเท่านี้คุณก็น่าจะตัดสินใจเลือกเปลี่ยนมาใช้เพลาลอยได้แล้ว จากคุณสมบัติที่มีเหนือกว่าเพลาเดิมหลาย ๆ ข้อที่ทางทีมงานเสรีไทยรถสวยนำมาฝาก
อยากรู้ไหมว่าเพลาลอยนั้นมีแบบไหนบ้าง ?
และแบบไหนที่เเหมาะกับการใช้งานและเหมาะกับรถของคุณมากที่สุด
ทีมงานเสรีไทยรถสวยจะมาเล่าให้ฟังคะ
เพลาลอยรถกระบะ แน่นอนอยู่แล้วว่าจะเป็นเพลาหลังที่ลักษณะการทำงานแตกต่างจาก เพลากระบะ เดิม ๆ ที่มาจากโรงงาน ซึ่งคุณสมบัติเด่นของเพลาลอยนั่นก็คือ จะเพิ่มความสามารถให้รถกระบะของคุณรับน้ำหนักในการบรรทุกได้มากขึ้น เทียบชั้นได้กับรถบรรทุก 6 ล้อ, 10 ล้อ จากความแข็งแรงในส่วนของเพลาลอยที่มีมากกว่าเพลาเดิมจากโรงงาน
โดยตัวเพลาลอยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. เพลาลอยมือสอง ดัดแปลง หรือ “”เพลาลอยแอ้ว”
การนำเพลาลอยเก่าที่เคยใช้งานอยู่ในรถบรรทุก 4 ล้อเล็กที่มีชื่อว่า “Isuzu ELF” หรือที่คนไทยเรียกกันจนติดปากว่า “เพลาลอยแอ้ว” มาดัดแปลงส่วนต่าง ๆ ให้เข้ากับตัวรถกระบะ เพื่อเพิ่มความสามารถในด้านการบรรทุกให้ดียิ่งขึ้น ดัดแปลงแทบจะทุกส่วนของตัวเพลา ไล่ไปตั้งแต่ส่วนของเฟืองท้าย, เพลากลาง, แป้นแหนบ ฯลฯ เพื่อให้เข้าได้กับตัวรถคันที่จะใส่เข้าไป
แม้จะดูเหมือนว่าความแกร่งในการรับน้ำหนักจะมีมากขึ้นเพราะใช้เพลาของรุ่นใหญ่เข้ามาช่วยในการบรรทุก อย่างไรก็ตามเมื่อขึ้นชื่อว่า “ดัดแปลง” คำว่าจบอาจไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเจอ ต้องอาศัยช่างที่ “มือถึง” เท่านั้นถึงจะใช้งานตัวรถได้อย่างไม่มีปัญหามากวนใจ อีกทั้งปัญหาในเรื่องเฟืองท้ายหอนและรถกินน้ำมันมากขึ้นคือสิ่งที่คุณจะต้องได้เจอแน่ ๆ เมื่อเลือกใช้เพลาลอยมือสอง

2. เพลาลอยใหม่ ทำสำเร็จออกมาสำหรับกระบะแต่ละรุ่น
เป็นเพลาลอยที่ผลิตออกมาใหม่มือหนึ่งให้ความแข็งแกร่งทนทานรับน้ำหนักในการใช้งานได้เทียบเท่ากับเพลาลอยมือสองของรถบรรทุกสี่ล้อเล็ก ระบบการทำงานคล้ายกันกับระบบเพลาแอ้วรวมไปถึงส่วนอะไหล่ยังใช้แทนกันได้หมด แต่ที่ดีกว่าคือ “ไม่ต้องดัดแปลง” ให้ยุ่งยาก เป็นเพลาลอยที่แต่ละชุดทำออกมาสำหรับกระบะแต่ละรุ่นโดยเฉพาะ นับตั้งแต่ในส่วนของเฟืองท้าย เพลาลอยประเภทนี้เปลี่ยนใส่กับชุดเฟืองท้ายเดิมที่มากับรถยกชุดได้เลยทันที ส่งผลให้อัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงจะไม่ต่างไปจากเดิมมากเหมือนใช้งานเพลาลอยมือสอง อีกทั้งในส่วนของจุดยึดต่าง ๆ เพียงขันน็อตก็ใส่ได้แล้ว ไม่ต้องตัดต่อดัดแปลงให้เสียรถมากเกินความจำเป็น
อีกข้อสำคัญที่ทำให้เพลาลอยประเภทนี้ กำลังมาแรงเป็นที่นิยมอย่างมากของสาวกรถคอกทั้งหลายนั่นก็คือ ตัวระบบสามารถใช้ร่วมกับสายเบรกมือเดิมที่มากับรถได้เลย จดทะเบียนได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่เหมือนเพลาลอยมือสองดัดแปลงที่จะต้องตัดออกไป ไม่มีเบรกมือให้ใช้งาน เสี่ยงวิ่งไปให้ผิดกฎหมายอีกต่างหาก
ถ้าเหตุผลหลัก ๆ ของการใช้กระบะของคุณคือเรื่องของการบรรทุก บอกเลยว่าการเปลี่ยนมาใช้เพลาลอยเท่านั้นที่จะช่วยคุณได้ ช่วยให้รถของคุณบรรทุกได้มากกว่า กำไรก็มากขึ้น หมดปัญจุกจิกตามมา และจากประเภทเพลาลอยทั้งสองแบบที่ทางทีมงานเสรีไทยรถได้นำมาให้นี้ คุณน่าจะรู้คำตอบแล้วใช่ไหมว่าเพลาลอยแบบไหน ประเภทไหน เหมาะกับรถของคุณมากที่สุด


3 ประโยชน์หลักของเพลาลอย
- รับน้ำหนักได้มากขึ้น บรรทุกหลังกระบะได้แบบ “จุใจ”
- ช่วยการทรงตัว “ขับขี่ได้มั่นใจปลอดภัยได้มากกว่า”
- เส้นทางโหดแค่ไหน กระแทกแรง ๆ ไม่มีหวั่น

วิธีการดูแลรักษาสำหรับรถที่ใช้เพลาลอย
หลายคนนำรถกระบะไปติดตั้งเพลาลอยเรียบร้อย พอใช้งานไปสักระยะก็พบปัญหาลูกปืนแตก น็อตล้อขาด เฟืองท้ายมีเสียงดัง ปัญหาแบบนี้อาจจะเกิดขึ้นทีละอย่างหรือเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันก็ได้ ซึ่งจะ แยกเป็น 3 กรณี คือ
- ลูกปืนแตก เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจากระบบหล่อลื่น คือ จาระบีอาจเสื่อมสภาพทำให้การหล่อลื่นมีปัญหา วิธีป้องกันปัญหานี้ก็คือให้หมั่นตรวจสภาพจาระบี และควรเปลี่ยนทุก ๆ 40,000 กิโลเมตร
- น็อตล้อขาด เมื่อรถกระบะต้องบรรทุกหนักจึงต้องมีการเปลี่ยนยางและเปลี่ยนล้อรถเร็วกว่ารถยนต์ธรรมดาทั่วไป คือ ทุก ๆ 20,000 กิโลเมตรก็ต้องเปลี่ยนแล้ว เมื่อต้องเปลี่ยนล้อยางบ่อย ๆ จึงทำให้น็อตล้อนั้นเสื่อมสภาพเร็วและขาดได้ง่าย วิธีป้องกันก็คือ ให้เปลี่ยนน็อตล้อใหม่ทั้ง 6 ตัวทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนล้อ
- เฟืองท้ายมีเสียงดัง เป็นปัญหาที่เกิดจากน้ำมันเฟืองท้ายเสื่อมสภาพหรือใช้น้ำมันผิดเบอร์ วิธีป้องกันก็คือ เลือกใช้น้ำมันเฟืองท้ายให้ถูกต้องและควรเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
ปัญหาเพลาลอย ที่คนใช้รถกระบะควรจะต้องรู้ !
อย่างไรก็ตามแม้เพลาลอยจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็มีประเด็นสำคัญที่คนที่มีรถกระบะติดตั้งเพลาลอยควรจะต้องรู้ ซึ่งทางทีมงานเสรีไทยรถสวยได้รวบรวมออกมาเป็น 8 ประเด็น จะมีเรื่องใดบ้างที่ควรจะต้องรู้ ไปติดตามกันได้เลยคะ
1. รถกระบะสายย่อติดตั้งเพลาลอยดีหรือไม่
เจ้าของรถกระบะหลายคนเริ่มต้นอาจไม่ได้คิดจะใช้งานบรรทุกหนักอะไรจึงนำไปแต่งโหลดให้รถสวยงาม แต่เมื่อถึงเวลาต้องเอาไปใช้งานบรรทุกจึงคิดว่าควรจะต้องนำรถไปติดตั้งเพลาลอยเพิ่มเพื่อให้บรรทุกหนักได้ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะดีหรือไม่ จริง ๆ รถกระบะทุกแบบสามารถติดตั้งเพลาลอยได้ แต่ถ้าเป็นกระบะสายย่อก็แนะนำว่าไม่ควร เพราะรถกระบะที่โหลดเตี้ยนั้นแหนบจะแข็งตรง จึงทำให้ไม่สามารถรับแรงกระแทกเวลาบรรทุกหนักได้ หากฝืนติดตั้งไปก็จะทำให้เจอปัญหาเสื้อเพลาและลูกปืนแตกนั่นเอง
2. รถเพลาลอยใส่ล้อแบบไหนถึงจะเหมาะ
รถเพลาลอยควรใส่ล้อแบบกระทะ ขนาด 7 นิ้ว เพราะล้อแบบกระทะมีความแข็งแรงทนทานเหมาะกับรถที่ต้องการบรรทุกหนักอยู่แล้ว แต่ล้อกระทะจะมีข้อเสียในเรื่องของการระบายความร้อน ส่วนใครที่ต้องการใส่ล้อแม็กกับรถเพลาลอยก็สามารถใส่ได้เช่นกัน ขนาดที่เหมาะก็คือ 7. – 7.5 นิ้ว ในเรื่องความทนทานเหมาะกับการบรรทุกนั้นอาจจะสู้ล้อกระทะไม่ได้ และในเรื่องราคาก็สูงกว่าด้วย
3. ตรวจสภาพเช็คระยะเพลาลอยควรทำเมื่อไหร่
ถ้าเป็นรถติดตั้งเพลาลอยใหม่ ควรตรวจเช็คสภาพเมื่อครบ 1,000 กิโลเมตร การตรวจสภาพเพลาลอยก็จะมีการเช็คน๊อตล้อ เช็คดุมล้อ เช็คสภาพเบรก และการตรวจสอบเฟืองท้ายร่วมด้วย ซึ่งกรณีที่เป็นเพลาลอยใหม่ก็ควรจะมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเฟืองท้ายเมื่อครบ 1,000 กิโลเมตร เพื่อทิ้งเศษสิ่งสกปรกที่อาจปนน้ำในน้ำมันเฟืองท้ายออกไป หลังจากนั้นก็ให้เปลี่ยนถ่ายทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร
4. การปรับตั้งเบรกสำหรับรถเพลาลอยควรทำเมื่อไหร่
สำหรับรถเพลาลอยควรมีการนำไปปรับตั้งเบรกทุก ๆ 20,000 กิโลเมตร เนื่องจากเมื่อมีการใช้รถไปนาน ๆ จากการที่รถต้องรับน้ำหนักบรรทุกมาก ก็จะทำให้ผ้าเบรกและจานเบรกสึกเร็วขึ้น เบรกจะห่าง ทำให้เบรกจมเวลาเหยียบ จึงจำเป็นที่จะต้องมีการนำมาตั้งค่าใหม่ หลักการจำง่าย ๆ ก็คือ เมื่อนำรถไปเปลี่ยนน้ำมันเฟืองท้ายก็ให้ตั้งเบรกไปพร้อม ๆ กันเลยนั่นเอง
5. ขับขี่อย่างไรไม่ให้เพลาข้างพังเร็ว
รถเพลาลอยจะพบปัญหาเพลาข้างขาดบ่อย ซึ่งการที่เพลาข้างขาดนั้นก็มาจากลูกปืนล้อหลวม ทำให้เพลาข้างต้องเสียดสีเวลาขับขี่ และถ้าเป็นรถเพลาลอยที่เป็นรถบรรทุกผลผลิตทางการเกษตรก็จะพบปัญหาเรื่องเฟืองรูดเพิ่มเข้ามาอีก ซึ่งวิธีขับขี่ที่ช่วยให้เพลาข้างไม่เสียหายเร็วก็คือ อย่าออกตัวแรง ให้ขับช้า ๆ เวลาออกตัวใช้เกียร์ 1 เท่านั้น เท่านี้ก็ช่วยยืดอายุเพลาข้างได้แล้ว
6. การติดตั้งเพลาลอยกับการย้ายแหนบ เมื่อไหร่ที่ควรย้าย
คนที่มีรถ 4WD ส่วนใหญ่จะเกิดปัญหาสงสัยว่า ถ้าต้องการที่จะติดตั้งเพลาลอยจะย้ายแหนบอย่างไรดี ก็แนะนำแบบนี้กรณีที่รถไม่ได้มีการเสริมแหนบเพิ่ม หรือเสริมมาแต่ไม่ได้หนา ก็ไม่จำเป็นต้องย้ายแหนบ สามารถติดตั้งเพลาลอยได้เลย แหนบจะอยู่ตรงหลังเพลาซึ่งไม่มีปัญหาใด ๆ แต่ถ้าในกรณีที่รถเสริมแหนบมาและแหนบค่อนข้างหนา แบบนี้ก็ควรมีการย้ายแหนบจากด้านบนลงด้านล่างเพื่อไม่ให้ท้ายรถสูงเกินไป
ทั้งหมดนี้คือ 6 ประเด็นสำคัญที่คนมีรถกระบะติดตั้งเพลาลอยควรจะต้องรู้เอาไว้ จะได้ใช้รถและดูแลเพลาลอยที่ติดตั้งมาได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี อันจะช่วยให้การขับขี่และการบรรทุกเป็นไปอย่างราบรื่น หวังว่าคงจะเป็นสาระที่มีประโยชน์กับทุกท่านไม่มากก็น้อย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแหนบ

ว่าด้วยเรื่องของแหนบ ความหมายของ “แหนบ” คือ เหล็กสปริงลดแรงสั่นสะเทือนของตัวรถ ขณะเคลื่อนที่ผ่านถนนขรุขระ โดยเป็นตัวกลางที่อยู่ระหว่างตัวรถ (Chassis) กับ เพลาล้อรถ (Axis) ด้วยเหตุนี้รถกระบะที่ต้องการแบกรับน้ำหนักบรรทุกที่มากขึ้น จึงต้องเพิ่มความแข็งแกร่ง ของแหนบให้หนาขึ้นด้วยแผ่นแหนบเสริม
แหนบเสริม มีไว้ช่วยเพิ่มความสามารถการรับน้ำหนักสินค้าได้มากขึ้น มีหลายแบบ คือ
- แหนบเก่า เป็นแหนบรถบรรทุก 4 ล้อ 6 ล้อขนาดกลาง มาดัดแปลงให้มีขนาดความกว้างเท่ากับแหนบรถกระบะ
- แหนบใหม่ เป็นแหนบโรงงาน ที่ผลิตตามขนาดความกว้างหน้าแหนบเท่ากับแหนบกระบะ ไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายไปตัดแต่งอีก ขนาดที่นิยม ได้แก ขนาดความหนา 12 MM และ 16MM
การทำงานของแหนบ
แหนบ (Leaf spring) ทำงานโดยอาศัยการโค้งงอหรือแอ่นของแผ่นเหล็กสปริงซางโค้งเป็นรูวงรี โดยติดตามแนวยาวกับตัวรถทั้งสองข้างล้อ ล้อละ1ตับ หรือติดขวางกับตัวรถแล้วแต่ผู้ออกแบบ
แหนบตับ (Multileaf spring) ประกอบด้วยแหนบหลายแผ่นที่มีขนาดความยาวแตกต่างลดหลั่นกันตามลำดับวางซ้อนกันเป็นตับ ตรงกลางมีรูโดยการใช่สกรูยืดให้ทุกๆแผ่นติดกัน เรียกว่า “สะดือแหนบ” (center bolt)
เมื่อล้อเต้นขึ้นลงหรือตกหลุมทำให้แหนบเด้งขึ้นลงตาม ส่วนปลายแหนบก็จะอ้าออกจากกัน เพื่อป้องกันการแยกออกของแผ่นแหนบจึงจำเป็นต้องมีเหล็กรัดแหนบ หรือที่เรียกว่า “แหนบตัวรัด” (rebound clips)
ลักษณะของแหนบตัวที่หนึ่งจะมีลักษณะเป็นตัวยางที่ปลายทั้งสองข้างม้วนเป็นวงกลม เรียกว่า
“ตัวหู” (spring eyes) เป็นตัวยึดกับโครงรถโดยมี “บู๊ชหูแหนบ” (bushings) มีหน้าที่ป้องกันหูแหนบสึกเร็ว ซึ่งบู๊ชส่วนมากทำด้วยยางและทองเหลือง
ส่วน “สลักแหนบ” (spring bolts) เป็นตัวยืดตรึงให้แหนบอยู่กับที่และรับแรงทางด้านต่างๆ จากเพลาล้อผ่านแหนบเข้าสู่โครงรถ เช่น แรงจากการเบรกทำให้แรงจากเบรกล้อผ่านแหนบเข้าสู่โครงรถ เป็นต้น
ส่วนปลายแหนบอีกด้านหนึ่งมี “โตงเตงหูแหนบ” (spring shankle) เป็นตัวแขวนแหนบเข้ากับ “เต้าโตงเตงหูแหนบ” (shankle bracket) ซึ่งยึดแน่นกับโครงรถ โตงเตงหูแหนบสามารถโยกแกว่งไปแกว่งมาบนเต้าโตงเตง หรือที่เรียกว่า “ตุ๊กตา” ทำให้แหนบสามรถปรับความยาวได้เพราะขณะรับน้ำหนักภาระต่างๆ แหนบจะแอ่นตัวและความยาวเพิ่มขึ้น ขณะที่ล้อลงหลุมแหนบจะฟรีไม่รับน้ำหนัก ความยาวของแหนบจะลดลงเพราะความโค้งของแหนบที่ได้รับการออกแบบไว้
แหนบบางตับจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับหูแหนบโดยการม้วนปลายทั้งสองข้างของแผ่นที่สองให้รัดครอบหูแหนบของแผ่นแรกอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “2 งอ” และถ้าจะให้แข็งแรงมากขึ้นก็ควรเสริมตัวตรงอีก 1 ตัว (สำหรับรถใช้บรรทุกหนัก)
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก : https://www.yongkee.com



เพลาลอยติดตั้งแหนบอย่างไรถึงจะเหมาะสม
ปกติแล้วรถกระบะจะบรรทุกน้ำหนักโดเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 4 – 6 ตัน เมื่อมีการนำมาติดตั้งเพลาลอยพร้อมกับเสริมแหนบจึงเกิดปัญหาว่า ไม่รู้จะติดตั้งแหนบขนาดไซส์ไหน และติดแหนบข้างละกี่แผ่นดี ใประเดนนี้สิ่ง ที่จะต้องทำความเข้าใจก่อนก็คือ แหนบของรถกระนั้นที่ใช้กันอยู่ก็จะมีอยู่ 2 ขนาด คือ ความหนา 12 มม. กับ ความหนา 16 มม.
น้ำหนัก 4 – 6 ตัน หากเลือกความหนา12 มม. แนะนำให้ติดตั้งข้างละ 8 แผ่น
น้ำหนัก 4 – 6 ตัน หากเลือกความหนา16 มม. แนะนำให้ติดตั้งข้างละ 6 แผ่น
ราคาแหนบเสริม โดยประมาณ ราคาแผ่นละ 500 – 1,000 บาท แล้วแต่ร้านคะ)
ข้อแนะนำในการบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งานของแหนบ
- อย่าบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐานกำหนด
- หลีกเลี่ยงหลุมบ่อระหว่างทางที่ขับรถผ่าน
- ระหว่างการใช้งานถ้าได้ยินเสียงผิดแกติทางด้านหลังของแหนบควรจอดรถตรวจดู
- อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับแหนบทั้งหมดต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเสมอ
- ถ้ามีอะไรผิดปกติที่เกี่ยวกับแหนบควรตามหรือปรึกษาช่างที่ชำนาญเกี่ยวกับแหนบ
- ถ้าแหนบหักควรเปลี่ยนแหนบที่มีมาตรฐานรับรองจากโรงงานและเชื่อถือได้เท่านั้น
- ห้ามดัดแปลงชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแหนบด้วยตัวเอง
- ควรตรวจสอบเกี่ยวกับจารบีที่หูแหนบอยู่เสมอเพื่อแหนบจะทำงานได้คล่องตัวขึ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหนบโดยส่วนใหญ่
- ขาดการเอาใจใส่ดูแลสภาพของแหนบตัว
- ไม่มีการซ่อมบำรุงรักษาที่ถูกวิธี
- บรรทุกน้ำหนักเกินขีดจำกัดตลอดเวลาที่ใช้งาน
- มักจะเจอช่างที่แนะนำให้ใช้แหนบที่ราคาถูกเกินไป (หรือแหนบเก่า)
- ใช้งานในพื้นที่ ๆ มีความชื้นสูงหรือติดกับน้ำทะเลเป็นประจำ
- เลือกใช้แหนบผิดสเป๊กของรถหรือขนาดของรถ
- นำแหนบไปดัดแปลงผิดวิธีหรือไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับแหนบ
เรามาดูในส่วนของโช๊คกันบ้าง
ทำไมถึงต้องไขว้โช๊ค ? โช๊คอัพมีหน้าที่ทำอะไร ?
โช๊คอัพมีหน้าที่ ดูดซับแรงสั่นสะเทือน ดังนั้นจึงต้องใช้โช๊คอัพเข้ามาช่วยในการซับแรง และยังช่วยให้คุณสมบัติในการเกาะถนนของยางดีขึ้นและช่วยให้เสถียรภาพในการทรงตัวดีขึ้น
ซึ่งในรถกระบะที่ด้านหลังเป็นแหนบก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากแหนบก็ถือว่าเป็นสปริงชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดการกระแทกขึ้นก็จะเกิดการเต้นของสปริง หรือเมื่อเกิดการหมุนของเพลากลาง แหนบก็จะรับแรงหมุนทำให้เกิดการบิดตัวได้
ดังนั้นการใส่โช๊คอัพให้ไขว้กัน หรือจะใส่แบบทแยง หรือใส่แบบเอียงเข้าหากัน ก็เพื่อซับแรงเต้นและแรงบิดตัวของแหนบ ตามแรงที่เกิดขึ้นในแนวนอนของแผ่นแหนบ ซึ่งจะแตกต่างจากด้านหน้าที่เป็นสปริงแบบขด แรงเต้นส่วนใหญ่จะเกิดตามแนวตั้งมากกว่าคะ


เพลาลอยมีกี่รุ่น แต่ละรุ่นมีข้อดียังไงบ้าง ?
ในปัจจุบันร้านที่จำหน่ายและบริการติดตั้งเพลาลอยนั้นมีให้เลือกหลายรุ่น หลายยี่ห้อมากมาย
เรามาดูกันว่า “เพลาลอยรถกระบะ” มีกี่รุ่น แล้วแต่ละรุ่นนั้นมีข้อดียังไงบ้าง
ทางทีมงานเสรีไทยรถสวยได้รวบรวมมาให้บางส่วนแล้วคะ
เพลาลอย VFORE
VFORCE แข็งแรง ทนทาน คุ้มค่า
อะไหล่ใหม่ทุกชิ้น เสื้อเพลาใหญ่กว่าเดิม
ลูกปืนใหม่ญี่ปุ่นแท้ พร้อมรับประกัน 6 เดือน
เหตุผลที่ลูกค้าส่วนใหญ่ให้ความไว้วางใจ ?
เปิดบริการมานานกว่า 40 ปีปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการมากถึง 3 สาขา
- สาขาตลาดน้อย (วงเวียนโอเดี่ยน)
- สาขาบางนา ก.ม.12 (โครงการเมืองเซียงกงบางนา)
- สาขาวังน้อยอยุธยา (โครงการเมืองเซียงกงวังน้อย)
คือ ศูนย์รวมอะไหล่ดีเซลจากประเทศญี่ปุ่น ทั้งรถกระบะ รถตู้รถ 4 ล้อใหญ่ และรถ 6-10 ล้อ และอะไหล่ตรงรุ่นรถบ้านเรา เช่น รถกระบะ D-MAX VIGO TRITUN BIG-M TFR MTX CHEVROLET FORD ฯลฯ เป็นต้น และทางเรามีอะไหล่สำหรับประกอบเพลาลอย โดยทางเรามีช่างมืออาชีพ ที่มีความชํานาญ มีประสบการณ์ ผ่านการอบรมด้านอะไหล่ครบวงจร มีการรับประกันคุณภาพสินค้าภายใน 14 วัน สำหรับสินค้าเก่า และรับประกันคุณภาพสินค้าใหม่ 1 เดือน มีบริการจัดส่งสินค้าทั่วประเทศ ภายในระยะเวลา 1 วัน และจัดส่งต่างประเทศโดยระยะวันขึ้นอยู่กับระยะห่างแต่ละประเทศเราสัญญาว่า จะมุ่งมั่นใส่ใจทุกรายละเอียดในการส่งมอบอะไหล่ เพื่อให้ท่านมั่นใจในทุกบริการ


เพลาลอยโปร (PRO)
เพลาลอย PRO ABS
นวัตกรรมล่าสุด! เพื่อวงการเพลาลอยไทย ใช้ได้ทุกรุ่นที่มี ABS ของ DMAX, REVO, TRITON, FORD,NAVARA, 4X4 ทุกรุ่น (เกียร์โฟร์ทำงานปกติ) รับประกัน 3 ปี สินค้าได้มาตรฐาน ISO9001จุดเด่นเพลาลอยโปรคืออะไร?
- จะใส่เฟืองเดิมก็ได้ , เฟืองแอ้วก็ได้
- แขนเพลาขนาดใหญ่ หนาและแข็งแรงกว่าปกติ
- ใช้อะไหล่ร่วมกับเพลาแอ้วตลาดได้ 99%
- แขนเพลายาวข้างละ 31นิ้ว , 32นิ้ว ก็ได้ (ไม่ตัดต่อ)
- ใส่รถรุ่นไหนก็ได้
- สั่งให้ล้อยื่นหรือหุบเท่าไหร่ก็ได้
- เบรกมือใช้แบบตรงรุ่น สามารถแยกคนละระบบกับเบรกเท้า
- ราคาเป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์ของคุณที่สุด

จุดเด่นเพลาลอยโปรคืออะไร?
- จะใส่เฟืองเดิมก็ได้ , เฟืองแอ้วก็ได้
- แขนเพลาขนาดใหญ่ หนาและแข็งแรงกว่าปกติ
- ใช้อะไหล่ร่วมกับเพลาแอ้วตลาดได้ 99%
- แขนเพลายาวข้างละ 31นิ้ว , 32นิ้ว ก็ได้ (ไม่ตัดต่อ)
- ใส่รถรุ่นไหนก็ได้
- สั่งให้ล้อยื่นหรือหุบเท่าไหร่ก็ได้
- เบรกมือใช้แบบตรงรุ่น สามารถแยกคนละระบบกับเบรกเท้า
- ราคาเป็นมิตรกับกระเป๋าสตางค์ของคุณที่สุด
เพลาลอย TCPY
ชุดเพลาลอยกระบะสำเร็จรูป TCPY !! เพลาท้ายของใหม่ !! เจ้าแรกที่ทุกคนนิยมเป็นจำนวนมาก สำหรับกระบะบรรทุกหนัก และ สำหรับกระกระบะ 1 ตัน ทุกรุ่น สามารถติดตั้งได้ทันที รับประกันเสื้อเพลานานถึง 2 ปี
จุดเด่นของเพลาลอย TCPY
- แก้ปัญหาลูกปืนแตกง่าย ลูกปืนใหญ่กว่าเดิมเยอะ
- ระบบเบรกที่ดีขึ้น ก้านเบรกหนาถึง 3 นิ้ว
- มีรูอัดจารบีโดยที่ไม่ต้องถอดลูกปืนให้ยุ่งยาก อัดจารบี 1 ครั้ง วิ่งใช้งานได้ถึง 50,000 กิโลขึ้นไป
- มีระบบเบรกมือ ที่ทาง TCPY คิดค้นเป็นเจ้าแรกมานานกว่า 7 ปี อย่างถูกกฎหมาย
- เป็นเจ้าตำนาน เป็นเจ้าแรกของประเทศไทย รับประกัน ทุกอย่างจดสิทธิบัตร
เป็นอย่างไรบ้างคะสำหรับรุ่นและข้อดีของเพลาลอยในแต่ละรุ่น
ที่ทางทีมงานเสรีไทยรถสวยนำมาฝากในวันนี้ หวังว่าคงเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจนะคะ มีเพื่อนๆหลายคนคงอยากทราบราคาอะไหล่ ของเจ้าตัว “เพลาลอยรถกระบะ” และราคาในการเสริมส่วนอื่นๆ ว่าจะใช้งบประมาณเท่าไหร่ ? ทางทีมงานเสรีไทยรถสวยได้หาข้อมูลราคาโดยประมาณมาให้บางส่วนแล้วคะ
ชุดเพลาลอยรถกระบะ (แล้วแต่ขนาดบรรทุก)(ตัน)
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่ 22,400 – 35,500 บาท (แล้วแต่รุ่น แล้วแต่ปี)
ชุดเพลาลอย Pro บรรทุกหนักทั่วไป 31 นิ้ว อยู่ที่ชุดละ 22,400 บาท โดยประมาณ
ชุดเพลาลอย Pro บรรทุกหนักพิเศษ 32 นิ้ว อยู่ที่ชุดละ 25,800 บาท โดยประมาณ
ชุดเพลาลอย ELF (แอ้ว , เอ้ว) 32 นิ้ว อยู่ที่ชุดละ 22,000 บาท โดยประมาณ
ชุดเพลาลอย TCPY 30,31,32 นิ้ว อยู่ที่ชุดละ 29,500 – 35,500 บาท โดยประมาณ
ดามกระบะ บน + ล่าง
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่ 14,000 – 16,000 บาท (บน 7,000-8,000) (ล่าง7,000-8,000)
กระทะผ่า + ยาง MICHELIN XCD2
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่คู่ละ 9,700 – 10,000 บาท
กระทะผ่าของ TCPY (เฉพาะ กระทะผ่า)
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่ลูกละ 4,300 – 4,500 บาท
ยาง MICHELIN XCD2 (เฉพาะ ยาง)
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่คู่ละ 7,100 – 8,000 บาท
แหนบ
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่แผ่นละ 500 – 1,000 บาท
คอกรั้ว ขนาด 1.80 เมตร ไม่ว่าจะเป็น แป๊ปน้ำเงิน, แป๊บแดง หรือ แป๊ปน้ำเงินแซมเลส
ราคาเริ่มต้นโดยประมาณอยู่ที่ 15,000 – 25,000 บาท *ถ้าเป็นในส่วนของคอกมือสอง ขึ้นอยู่กับสภาพของคอกรั้วค่ะ*
หากคิดเป็นจำนวนเงินคร่าวๆ รวมทั้งชุดก็จะอยู่ที่ราว ๆ 100,000 – 150,000 บาท แล้วแต่เพื่อนๆคนไหนจะแต่งเติมเสริมอะไรบ้างคะ (อ้างอิงข้อมูลราคาจากในสื่อ ของหลายๆร้านคะ)
ราคารถกระบะคอกเพลาลอย มือสอง!

ISUZU D-MAX ตอนเดียว 3.0 S ปี 2019 คอกเพลาลอย
ราคาประมาณ 569,000 บาท
ISUZU D-MAX ตอนเดียว 3.0 S ปี 2018 คอกเพลาลอย
ราคาประมาณ 539,000 บาท
(อ้างอิงราคาโดยประมาณจาก
https://www.taladrod.com ณ วันที่ 24 มีนาคม 2564)
TOYOTA REVO ตอนเดียว 2.8 J PLUS ปี 2020 คอกเพลาลอย
ราคาประมาณ 569,000 บาท
TOYOTA REVO ตอนเดียว 2.8 J PLUS ปี 2019 คอกเพลาลอย
ราคาประมาณ 559,000 บาท
TOYOTA REVO ตอนเดียว 2.8 J PLUS ปี 2018 คอกเพลาลอย
ราคาประมาณ 539,000 บาท

ที่อยู่ : สี่แยกตาปาน อำเภอเมือง
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000
โทร :
095-030-4555
Facebook :
รถกระบะมือสองจังหวัดสุราษฎร์ธานี
Line : @surat999
ศูนย์รวมรถกระบะมือสองสภาพป้ายแดง
ฟรีดาวน์ Vigo Champ , Revo , All New
D-Max , Triton ปี 2013-2019
เอกสารไม่ยุ่งยาก ออกได้ทุกอาชีพ
ไม่มีรถชนหนัก น้ำท่วม รับประกันซื้อคืน
มีบริการหลังการขาย 1 ปี
รถอื่น ๆ
TOYOTA REVO SINGLE CAB 2.8J PLUS ปี 2020 สีเทา
⚫️🔴 TOYOTA REVO SINGLE CAB 2.4 J ปี 2015 สีขาว ⚫️🔴
ISUZU D-MAX SPARK EX 1.9B ตู้เย็น MPC ปี 2019/2020 สีขาว
⚫️🔴 TOYOTA REVO SINGLE CAB 2.8 J 4X4 สีเทาดำ ปี 2017 ⚫️🔴
☘️ ISUZU D-MAX SPARK EX 3.0 4WD ปี 2018 สีเทาดำ ☘️
⚫️🔴 ISUZU D-MAX SPARK EX 1.9S ปี 2018 สีบรอนซ์เงิน ⚫️🔴